วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

บทคัดย่อ
         โครงงานคณิตศาสตร์เรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำนา  ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง   เพื่อศึกษาวิธีการอย่างไรถึงจะไม่เป็นหนี้สิน   เพื่อศึกษาวิธีลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตร   รู้วิธีการทำบัญชีรับ  -  จ่าย  เพื่อศึกษาวิธีการทำนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง   โครงงานคณิตศาสตร์เรื่องการประกอบอาชีพการทำนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  กลุ่มมีความสนใจเพื่อศึกษาว่าการทำนาอย่างไม่เป็นหนี้สิน   มีวิธีการทำนาอย่างไรที่มีต้นทุนต่ำ   มีการหลักจัดทำบัญชี รายรับ- รายจ่ายอย่างไร  ทำให้พอมี พอกิน  ไม่เป็นหนี้สิน   ถ้าทำตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแล้วเกิดประโยชน์จริงหรือไม่  จึงไปดำเนินการโดยไปสัมภาษณ์คุณพ่อคุณแม่ของเด็กหญิงรวิภา  บุญเพ็ง  เด็กหญิงธมลวรรณ  จันทร์สุนทร  สังเกตจากการปฏิบัติจริงของบิดามารดาที่ประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว           ผลการศึกษาครั้งนี้ได้รู้ว่าวิธีการทำนาเพื่อลดต้นทุน   การทำบัญชีรายรับ- รายจ่าย  ว่ามีเงินเหลือกิน เหลือใช้ไม่เป็นหนี้สิน  รู้วิธีการจัดทำบัญชีแบบง่ายๆ  ทำให้  รู้จักประมาณตน ขยันพากเพียร  รู้จักสร้างวิธีการแก้ปัญหา  สร้างความภูมิกันให้กับครอบครัว   โดยการฝากเงินไว้เพื่อปัญหาในวันข้างหน้าที่สามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นตัวอย่างกับทุกอาชีพทุกคนได้เป็นอย่างดีสร้างชีวิตให้ดีขึ้น  ซึ่งเก็บออมไว้วันละประมาณ  100 บาท เก็บรวมได้มากนำไปฝากธนาคาร                                                  ความเป็นมา             คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ  80  ประกอบอาชีพทางการเกษตร  การทำนา  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์  แต่มาระยะหลังชาวนาส่วนใหญ่มีหนี้สินรุงรัง  อาจเนื่องจาก ความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยที่อยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์   ความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยี  ทำให้ประชาชนรู้ไม่เท่าทัน ในยุคบริโภคนิยม   วิ่งตามความเจริญทางด้านวัตถุ   อยากมีเหมือนคนอื่น  ทำให้สุรุ่ยสุหร่าย   ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย   ทำให้มีหนี้สินรุงรัง  ประกอบอาชีพไม่พอใช้จ่ายด้วยบุญของคนไทยที่มีพ่อหลวงพระราชทานปรัชญาแก่ประชาชนให้ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    โดยให้ยึดหลัก  ความพอประมาณ     ความมีเหตุผล หรือใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา   การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง  ครอบครัว  องค์กรและชุมชน   พื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสามประการนั้น  สามารถนำมาประยุกต์ใช้เรื่องต่างๆได้เป็นอย่างดี  แม้แต่ในการประกอบอาชีพ  การดำรงชีวิต    หากประชาชนมีหลักเศรษฐกิจพอเพียง  รู้เข้าใจ  และดำเนินชีวิตอย่างรู้เท่าทัน  ทำให้เรารับมือกับโอกาสและความเสี่ยงในกระแสโลกาภิวัฒน์  กลุ่มข้าพเจ้ามีความสนใจอยากทราบว่าถ้าดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพทำนาตามแนวปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงของครอบครัว  ข้าพเจ้าทำให้มีรายรับรายจ่าย   ใช้เงินในการลงทุน   เหลือกำไรเท่าไร  มีวิธีการดำเนินงานอย่างไรของครอบครัวที่ไม่ทำให้เป็นหนี้สิน  เหลือเงินไว้ใช้จ่ายตลอดไป


 วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการทำนา  ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อศึกษาวิธีการอย่างไรถึงจะไม่เป็นหนี้สิน
3. เพื่อศึกษาวิธีลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตร
4. เพื่อศึกษาวิธีการทำบัญชีรับ  -  จ่าย
เป้าหมาย
ศึกษาเทคนิควิธีการทำนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่ไร้หนี้  กินดี  อยู่ดี  ด้วยบัญชีรับ-จ่าย

    
ด้วยบุญของคนไทยที่มีพ่อหลวงพระราชทานปรัชญาแก่ประชาชนให้ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    โดยให้ยึดหลัก  ความพอประมาณ ความมีเหตุผล หรือใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา   การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง  ครอบครัว  องค์กรและชุมชน 

ตารางรายได้ของการทำนาของบิดามารดาของเด็กหญิงรวิภา บุญเพ็ง
ครอบครัวของ ด.ญ. รวิภา ครอบครัวของด.ญ.ธมลวรรณ
รายจ่าย        รายรับ         รายจ่าย        รายรับ
17,400         140,000       41,560         140,000
คงเหลือ  140000- 17400 = 122,600 คงเหลือ  140000  -  41560  =  98,440

สรุปได้ว่า  การทำนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้กำไรมากกว่าและลดต้นทุน   และมีรายได้พอใช้จ่าย

ตัวอย่างบัญชีรายรับ  -   รายจ่ายประจำวัน
  ของนาย  นายอนุสรณ์ นางอุษา  บุญเพ็ง
 
วัน  เดือน  ปี                 รายการ           รายรับ        รายจ่าย          คงเหลือ
16 มิ.ย.51                     ขายผักกะเฉด     50             -                     50
                                     ขายผักบุ้ง           30            -                      80
                                     ขายกะเพรา        20            -                      100
                                     ขายตะไคร้         30            -                      130
                                    ขายมะเขือขาว    50           -                       180
                        จ่ายให้ลูกและค่ากับข้าว   -             80                    100
17 มิ.ย. 51                  ขายผักกะเฉด        60            -                      160
                                   ขายผักบุ้ง             40             -                      200
                                   ขายกะเพรา          30             -                      230
                                   ขายตะไคร้           70             -                      300
                                    ขายใบโหระพา  30             -                       330
                                   ขายมะเขือขาว    50            -                        380
                          จ่ายให้ลูกไปโรงเรียน      -            40                    340
18 มิ.ย.  51                   ขายผักกะเฉด      50            -                      390
                                   ขายผักบุ้ง            30               -                     420
                                   ขายกะเพรา         30             -                       450
                                   ขายตะไคร้          40             -                       490
                                   ขายใบโหระพา    30           -                        520
                                   ขายใบสะระแหน 40         -                         560
                                   ขายมะเขือขาว     60            -                       620
                                  จ่ายให้ลูกไปโรงเรียน -        40                     580
                                    ซื้อเนื้อหมู            -            60                     520
19 มิ.ย. 51                   ขายผักกะเฉด       50          -                        570
                                   ขายผักบุ้ง             40           -                       610
                                   ขายกะเพรา          70         -                         680
                                    ขายตะไคร้          30         -                        710
20 มิ.ย. 50                     ขายผักกะเฉด     40       -                         765
                                    ขายผักบุ้ง             40           -                     805
                                    ขายกะเพรา           30          -                     835
                                    ขายตะไคร้               20          -                     855
                                     ขายใบโหระพา         30          -                    885
                                      ขายมะเขือขาว        50          -                     935
                                      จ่ายให้ลูกไปโรงเรียน -           40                895
21 มิ.ย. 51                        ขายผักชี                 50         -                     945
                                       ขายมะละกอ           40         -                     985
                                       ขายกะเพรา             20          -                   1,005
                                        ขายตะไคร้             30          -                    1,035
                                        ขายกล้วยน้ำหว้า      72          -                  1,107
                                         ขายใบสะระแหน      40           -               1,147
                                          ขายมะเขือขาว        60             -               1,207
                                        จ่ายให้ลูกไปโรงเรียน    -          40             1,167
                                           และยาแก้ไข้หวัด      -            80              1,087

22 มิ.ย.51                             ขายผักกะเฉด          50           -               1,137
                                            ขายถั่วฝักยาว         75           -                 1,212
                                            ขายผักบุ้ง              30           -                  1,242
                                           
ตัวอย่างบัญชีรายรับ  -   รายจ่ายประจำวัน
 ของนาย  นายอนุสรณ์   นางอุษา   บุญเพ็ง
วัน  เดือน  ปี             รายการ              รายรับ          รายจ่าย       คงเหลือ
23 มิ.ย.51             ขายตะไคร้               50                 -                1,292
                           ขายมะเขือขาว           30                 -                1,322
                            ขายกล้วยน้ำหว้าสุก  40                -                1,362
                            จ่ายค่าผงซักฟอก        -                160             1,202
                           จ่ายค่าน้ำตาลปึก         -                 35               1,167
                            จ่ายค่าแป้ง                 -                  24              1,143
   
                                                  สรุปผล                         
            จากการจัดทำโครงงาน   อาชีพไร้หนี้   กินดี  อยู่ดีด้วยบัญชีรับจ่าย ตามแนวเศรษฐกิจทำให้เรารู้ว่าการทำนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมีการลงทุนไม่มากและมีเงินเหลือเก็บไม่เป็นหนี้สิน  มีรายได้จากการขายผักและผลไม้ หักค่าใช้จ่ายแล้วประมาณเดือนละ  3,000  บาท
 รู้วิธีการจัดทำและประโยชน์ของการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครัวเรือน  ทำให้ทราบว่าเรามีเงินเท่าไร  ใช้เท่าไร 
เหลือเก็บเท่าไร   ไม่ใช้เงินเกินตัว   รู้อนาคต    รู้จักการใช้จ่ายอย่างประหยัด
  การทำนาลดต้นทุนการทำนาโดยวิธี
1. ขุดสระน้ำไว้กักเก็บน้ำในฤดูแล้ง
2. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
3. การใช้ยาฆ่าแมลงจากพืชธรรมชาติ
 อาชีพทางการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพของคนไทยเป็นส่วนใหญ่ที่ปัจจุบันคนส่วนมากกำลังจะละทิ้ง
และที่ทำอยู่ก็เป็นหนี้สินกันมาก     จากการทำโครงงานในครั้งนี้จะเห็นได้ว่าถ้าเราประกอบอาชีพทำนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงคือ
1. รู้จักประมาณตน
2. รู้จักความมีเหตุผล หรือใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา  
3. การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง  ครอบครัว  องค์กรและชุมชน 
ก็จะทำให้เรามีกิน  มีใช้  มีเงินเหลือเก็บ   และรู้จักทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะได้รู้จักประมาณตน  ใช้จ่ายอย่างประหยัด  
ก็จะมีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ในอนาคต  
 
ข้อเสนอแนะ
1.ประโยชน์จากการจัดทำบัญชีรายรับ  - รายจ่ายสามารถนำไปใช้ได้กับทุกอาชีพทุกคน
2.การใช้ปุ๋ยอินทรีย์และยาฆ่าแมลงจากสารธรรมชาติสามารถนำไปใช้ในการปลูกพืช
ได้ทุกชนิดเพื่อลดต้นทุนและไม่เป็นภัยในระยะยาว
3.สามารถนำเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ไร้
หนี้สิน  ด้วยการจัดทำบัญชีรายรับ- รายจ่าย   ต้องมีรายรับหลายทาง มากกว่ารายจ่าย   และต้องขยันมีความเพียร  จะทำให้เราไม่มีหนี้สิน
การทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย
การทำบัญชีบันทึกรายรับ-รายจ่าย ประจำวัน ท่านสามารถแบ่งแยกเป็นตารางที่มีส่วนประกอบ ได้ดังนี้
รายรับ จดบันทึกรายการเป็นตัวเงิน ที่ได้รับเข้ามาทั้งหมด เช่น เงินที่ได้จากการขายสินค้า,เงินทีได้จากการทำงาน,เงินเดือน ฯลฯ
รายจ่าย จะบันทึกรายการเป็นตัวเงินที่ได้จ่าย เช่น ค่าอาหารการกิน,ค่าเดินทาง,ค่าที่พัก,ค่าน้ำ,ค่าไฟ ฯลฯ
ตัวอย่างการบันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวัน 

โปรแกรมบันทึกบัญชี รายรับ-รายจ่าย
ก่อนอื่นเลยต้องขอขอบคุณ ธนาคารกสิกรไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านการเงินตลอดมา โดยเป็นผู้สนับสนุนให้ประชาชน บุคคลทั่วไป รู้จักเก็บออม และการจดบันทึกข้อมูลรายรับ รายจ่าย

 โปรแกรมจดบันทึกการทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย
โดยเป็นผู้จัดทำโปรแกรมบันทึกข้อมูลรายรับรายจ่าย เพื่อทำการจดบันทึกข้อมููล ให้ประชาชน หรือบุคคลทั่วไป สามารถนำไปใช้งานกันได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือค่าทำเนียมใดๆ ทั้งสิ้น
เพิ่มความสะดวกสบายในการจดบันทึกข้อมูลมากขึ้น เพียงกรอกตัวเลขลงไปเท่านั้น นอกจากนี้แล้วคุณยังสามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผนการเงินได้จากโปรแกรมนี้ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์มากจริงๆ

ประโยชน์ของการจดบันทึก

  • ช่วยบันทึกความทรงจำที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
  • เพื่อใช้เป็นข้อมูลฐานะทางการเงินของกิจการ
  • ช่วยพัฒนานิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบและมีระเบียบแบบแผน
  • ช่วยพัฒนาให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น
  • ทำให้รู้จักประหยัดค่าใช้จ่ายกับสิ่งที่ไม่จำเป็น
  • เพื่อกำหนดเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน
 สิ่งที่จะได้รับจากโปรแกรมบันทึกเงินออม
  • สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ เพราะเราสามารถทราบถึงรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  • จัดสรรเงินออมและลงทุน สามารถจัดสรรเงินออมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น กองทุน ทอง เงินออม
  • รู้พฤติกรรมการใช้จ่ายรายเดือน แน้นอนหากเราเป็นคนที่มีระบบระเรียบจดบัญทึกการเงินของเรา ย่อมรู้อยู่แล้วว่าเราใช้จ่ายอย่างไรบ้าง

 ตัวอย่างการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

 

 ตัวอย่างการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

 

 

CR.เด็กหญิงกัลยรัตน์ บุญก้อน       
      เด็กหญิงณัชชา พุทธาวัง           
      เด็กหญิงณัฐชา จันทรเสนา       
      เด็กหญิงเวธกา จันทร์ศรีสุคต 




วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การหาเลขโดดตัวสุดท้ายของเลขยกกำลัง1-9

           สวัสดีทุกท่านที่หลงเข้ามาในบล็อกนี้นะคะ สิ่งที่เราจะนำเสนอในบทความนี้ก็จะเกี่ยวกับการหาเลขโดดตัวสุดท้ายของเลขยกกำลังตามหัวข้อบทความนั้นแหละ เป็นการประยุกต์เรื่องเลขยกกำลังที่เราเคยเรียนตอน ม.1 ถ้าผิดพลาดประการใดเราก็ขอโทษด้วยนะคะ จะพยามนำเสนอให้ถูกต้องและคนอ่านให้เข้าใจมากที่สุด ขอบคุณค่ะ...

            ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นไว้ก่อนว่าที่เราคิดจะนำเสนอเรื่องนี้เพราะตอน ป.6 จะขึ้น ม.1 คุณครูเคยถามเราว่า ถ้า 2 ยกกำลัง 50 เลขโดดตัวสุดท้ายจะเป็นเลขอะไร ตอนนั้นเราตึบมาก พอขึ้น ม.1 เราได้เรียน วิชา IS ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องทำโครงงานเราเลยเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้ และนำมาเผยแพร่ให้ทุกท่านได้อ่านกัน

ถ้างั้นเรามาเริ่มกันเถอะคะ เราจะเริ่มกันที่บทนิยามของเลขยกกำลังกับความหมายของเลขโดดก่อนนะคะ

เลขยกกำลัง
บทนิยาม ถ้า a แทนจำนวนใดๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก “ a ยกกำลัง n
เขียนแทนด้วย a^n หมายความว่า a ×a× a×…×a มี n ตัว เป็นจำนวนนับ
เรียก a^n ว่าเลขยกกำลังที่มี a เป็นฐาน และ n เป็นเลขชี้กำลัง
ตัวอย่างเลขยกกำลัง(ต้องขอโทษด้วยนะคะที่ไม่ทำเลขยกกำลังให้ดีๆเราทำไม่เป็นจริงๆค่ะT^T)
เลขโดด
เลขโดด หมายถึง จำนวนตั้งแต่ 0-9           0,1,2,3,4,5,6,7,8,9

               จากนั้นสิ่งที่เราจะทำกันต่อมาก็คือ...การสำรวจค่ะ สำรวจอะไรน่ะเหรอ อธิบายไม่ถูกแฮะงั้นเราไปดูต่อกันเถอะค่ะ...
               โดย เลขโดดที่เราจะสำรวจก็คือ 2,3,4,6,7,8,9 ซึ่งเราจะไม่สำรวจเลข 1 และ 5 เพราะ เลข 1 ไม่ว่าจะยกกำลังเท่าไร ผลลัพธ์คือ 1 เหมือนเดิม ส่วนเลข 5 ก็เหมือนกันค่ะ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเท่าไรแต่เลขโดดตัวสุดท้าย ต้องเป็น 5 อย่างแน่นอน เหตุนี้แหละค่ะที่เราถึงเลือกสำรวจแค่ 2,3,4,6,7,8,9 ซึ่งสิ่งที่เราจะสำรวจก็คือ ผลลัพย์ของเลขโดดที่ยกกำลังตั้งแต่ 1-10 หรือจนกว่าเลขโดดของผลัพธ์จะซ้ำกันค่ะ

     ผลการสำรวจ













                               เอาเป็นว่าขอนำเสนอเพียงเท่านี้นะคะ ถ้ามีข้อผิดพลาดก็บอกได้เลยค่ะจะได้แก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องแต่อย่าด่านะค้า ขอบคุณค่ะ